ไมโครโฟน Active Dynamic คืออะไร?

ในการบันทึกเสียง และการแสดงดนตรีสดนั้น ไมโครโฟนถือเป็นส่วนสำคัญในการรับเสียงร้อง เครื่องดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ แล้วเป็นสัญญาณไฟฟ้าไปสู่ปรีแอมป์ แล้วส่งต่อไปอีกหลายขั้นตอนจนเข้าสู่โปรแกรมบันทึกเสียง หรือแม้กระทั่งไปสู่ลำโพงในการเล่นดนตรีสด แน่นอนครับว่าไมโครโฟนมีหลายชนิด แล้วแต่ละชนิดก็จะมีคาแรคเตอร์เสียงที่แตกต่างกันไปอีก ซึ่งก็มีหลายชนิดที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบันเช่น ไมค์คอนเดนเซอร์, ไมค์ไดนามิก, ไมค์ริบบอน และปัจจุบันที่อาจจะเลิกใช้ไปแล้ว เช่น ไมค์คาร์บอน, ไมค์คริสตัล, ไมค์เซรามิค โดยไมค์ที่นักดนตรี และมือซาวด์ทั่วไปรู้จักกันดีในยุคนี้ก็คือ ไมค์คอนเดนเซอร์ กับ ไมค์ไดนามิก ที่นิยมใช้กัน และไมค์ริบบอน มาดูกันว่าไมค์คอนเดนเซอร์ กับ ไมค์ไดนามิก ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมีการรับเสียงอย่างไร ไมค์ไดนามิก (Dynamic Microphone) ชื่อเต็ม ๆ คือ Dynamic Moving Coil Microphone การทำงานของเจ้าไมค์ตัวนี้ เป็นการใช้แผ่นรับเสียงที่เรียกว่า Diaphragm ติดกับขดลวดหรือที่เรียกว่า Coil พันวนรอบแท่งแม่เหล็กและปลาย Coil ติดกับตัวรับสัญญาณไฟฟ้า หลักการทำงานเมื่อคลื่นเสียงกระทบ Diaphragm ขดลวดจะขยับเข้าออกเก็บเป็นคลื่นไฟฟ้าเพื่อไปขยายสัญญาณในอุปกรณ์อื่น ๆ ต่อไป เป็นการประยุกต์ปรากฏการเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Induction) ที่เปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยขดลวดเคลื่อนตัวผ่านสนามแม่เหล็กจะเกิดการแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้า จุดเด่นของไมค์ประเภทนี้คืออุปกรณ์ภายในมีความทนทานระดับความดังเสียงมากๆได้ดี ส่งผลให้สามารถรองรับการกระแทกได้ดีในระดับนึงเช่นกัน ไมค์คอนเดนเซอร์ (Condenser Microphone) กลไกลของไมค์ Condenser นั้นจะเหมือนกันกับ Dynamic แต่กลไกบางอย่างต่างกัน โดยไมค์ Condenser นั้นจะเปลี่ยนวัสดุ Diaphragm เป็นแผ่นบางๆกว่า Diaphragm ของไมค์ Dynamic และเปลี่ยนจากการใช้ขดลวด (Coil) เป็นวัสดุแผ่นบางที่เพื่อขยับได้ง่ายแม้มีเสียงเบา และมีอีกแผ่นติดตั้งอยู่เรียกว่า Back Plate ทั้งสองแผ่นนี้จะมีช่องเว้นว่างห่างกันเล็กน้อย ซึ่งมีลักษณะคล้ายตัวเก็บประจุไฟฟ้าหรือที่เรียกว่า Capacitor โดยการทำงานของไมค์ Condenser นั้นจะต้องจ่ายกระแสไฟฟ้า แรงดันคงที่ตั้งแต่ 9 – 48 Volt ไปที่ Diaphragm และเมื่อมีคลื่นเสียงมากระทบ Diaphragm ทำให้ระยะห่างระหว่าง Diaphragm กับ Backplate เข้าใกล้และผลักออกไปจากที่เดิมค่า Voltage จึงมีการเปลี่ยนไปและส่งเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าไปสู่อุปกรณ์อื่น ๆ ต่อไป ด้วยกลไกที่ไม่มี Coil อยู่ระหว่าง Plate ทำให้เสียงเบามากๆ Diaphragm ก็สามารถรับสัญญาณได้ ซึ่งในแง่ตรงกันข้ามในการใช้งานที่สมบุกสมบันสำหรับไมค์ Condenser ส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยแข็งแรงทนทาน และเสียหายได้ง่ายเมื่อมีแรงกระแทกหรือมีการกระทบกระเทือนแรงๆ เมื่อเทียบกับ Dynamic microphone แล้วไมค์แอคทีฟไดนามิกคืออะไร (Active Dynamic Microphone) ไมค์แอคทีฟไดนามิกก็คือไมค์ไดนามิกที่ต้องจ่ายไฟ Phantom เพื่อไปเลี้ยงวงจรเพื่อไปเลี้ยงวงจร ทำให้สามารถรับเสียงได้ดีกว่าไมค์ไดนามิกปกติ ถ้าพูดเป็นภาษาไทยอาจจะงง อาจจะพูดว่าทำให้ค่า Sensitivity สูงขึ้น แต่คาแรคเตอร์เสียงก็ยังเป็นแบบไมค์ไดนามิกปกติอยู่ ในปัจจุบันไมค์แอคทีฟไดนามิกที่ออกมารุ่นใหม่ๆ ก็จะมี Aston Element Bundle ต้องต้องจ่ายไฟเลี้ยงวงจร หรือ Aston Stealth ที่มีทั้งโหมดจ่ายไฟเลี้ยง และไม่จ่ายไฟเลี้ยง ลองฟังเสียงตัวอย่าง Aston Element Bundle ไมค์แบบแอคทีฟไดนามิก เรียนรู้ความแตกต่างของไมค์ แล้วเลือกให้เข้ากับเพลงของคุณ
YouTube video

 

ใส่ความเห็น