เทคนิคการตั้งลำโพงมอนิเตอร์ในโฮมสตูดิโอ

        เรามาดูกันครับว่า ลำโพงดอกเล็กๆ อย่าง KRK V4 จะสามารถทำงานได้จริงหรือไม่ แล้วการตอบสนองความถี่สามารถทำได้ดีแค่ไหน? ลำโพงขนาดเล็กอย่าง KRK V Series เสียงจะเล็กเหมือนขนาดของมันด้วยไหม? แรงขับจะมีขนาดไหน? คำถามเยอะแยะเต็มไปหมด แต่ไม่ต้องไปหาคำตอบให้เสียเวลาครับ เรารวบรวมคำตอบไว้ให้คุณที่นี่แล้ว กับประสิทธิภาพของเจ้า KRK V4 ที่ไม่ใช่แค่หาคำตอบ แต่เราทดลองใช้งานจริง จะได้มั่นใจว่า KRK เค้าไม่เคยทำให้เราผิดหวังเลยจริงๆ อ่านเถอะครับ ความรู้รอคุณอยู่   01.jpg

ทำความรู้จัก KRK V Series

KRK เป็นผู้ผลิตลำโพงมอนิเตอร์ที่มีชื่อเสียง ได้รับการยอมรับในเรื่องคุณภาพของลำโพงมาอย่างยาวนาน โดยปัจจุบัน(ปี2019) KRK มีลำโพงสำหรับงานสตูดิโอให้เลือกสองกลุ่มคือ Rockit Series ซึ่งเป็นลำโพงทำงานระดับมาตรฐานและ V Series ที่ให้รายละเอียดของเสียงที่ดีกว่า ลำโพง V Series แบ่งเป็น 3 รุ่นคือ V4, V6 , V8 โดยตัวเลขรุ่นนี้ คือขนาดดอกลำโพงหลักที่มีขนาด 4นิ้ว, 6นิ้ว, 8นิ้ว สำหรับรุ่นที่ทางโปรปลั๊กอินส่งมาให้ผมลองใช้ เป็นรุ่น V4 ดอกลำโพงหลักขนาด 4 นิ้ว ซึ่งเป็นรุ่นเล็กสุดของ V Series  

ลำโพงเล็ก ใช้ทำงานได้จริงหรือ : ทดลองใช้ KRK V4

ข้อจำกัดที่เรานึกออกจากลำโพงขนาดเล็กก็คือ การตอบสนองความถี่ที่ทำไม่ได้ครบถ้วน โดยลำโพงขนาดเล็กมักจะตอบสนองเสียงย่านความถี่ต่ำได้น้อยหรือแทบไม่ได้ ลำโพงเล็กๆ เสียงจึงมักเล็กไปตามตัว คือเสียงแหลมๆ บางๆ และด้วยขนาดเล็กทำให้กำลังขับน้อย จึงให้ความดังที่จำกัด นี่คือภาพความคิดที่เราจะนึกถึง เมื่อเจอลำโพงขนาดเล็ก แต่ KRK V4 ลบภาพความคิดเกี่ยวกับลำโพงขนาดเล็กทุกอย่างข้างต้น เพราะแม้ตัวดอกลำโพงหลักจะมีขนาดแค่ 4 นิ้ว แต่คุณภาพเสียงและกำลังขับที่ V4 ทำได้ ดีเกินขนาดลำโพงไปหลายขั้น อย่างแรกคือเรื่องความถี่ย่านต่ำหรือเสียงเบส V4 ทำได้แบบที่ลำโพงดอกใหญ่ทำได้คือให้เสียงย่านต่ำที่แน่น เต็ม เบสชัดเจนเป็นลูก แต่ไม่ได้บวม ถ้าจะมีข้อเด่นหรือจุดประทับใจที่สุดของ V4 ก็คือเรื่องการที่เป็นลำโพงขนาดเล็กแต่ตอบสนองเสียงย่านต่ำได้อย่างยอดเยี่ยม เรื่องรายละเอียดเสียง V4 ทำได้ดี เป็นลำโพงมอนิเตอร์แบบที่ใช้ทำงานได้และยังฟังเพลงเพราะ จุดขายสำคัญของ V4 ก็คือเรื่องการให้รายละเอียดเสียงที่ดี เมื่อลองเปิดเทียบฟังกับลำโพงมอนิเตอร์ในระดับราคาไม่เกิน 3 หมื่นบาท สิ่งที่ V4 ทำได้ดีมากๆ ก็คือเรื่องรายละเอียดเสียง คุณจะได้ยินเสียงต่างๆ มากขึ้น และละเอียดขึ้น เรื่องกำลังขับ แม้ V4 มีขนาดเล็ก แต่ให้กำลังขับถึง 80 วัตต์ ซึ่งดังเหลือเฟือสำหรับการทำงานในห้องทั่วไป ในการทดลองใช้งาน ผมใช้ความดังแค่ไม่เกิน 50% ของความดังที่ V4 ทำได้ เสียงลำโพงก็ดังมากแล้ว แต่ในความดังนั้น มีรายละเอียดเสียงที่ชัด 02.jpg จุดเด่นอีกข้อของ V4 คือการมีมิติเสียงที่ดี  เมื่อคุณใช้งาน V4 และจัดวางลำโพงได้ตำแหน่งที่ดี เสียงที่คุณได้ยินจะเหมือนไม่ได้มาจากลำโพง แต่เสียงจะถูกนำมาวางตรงหน้า โดยคุณจะไม่รู้สึกว่ามีลำโพงอยู่ตรงหน้าคุณ ข้อนี้ฟังดูเหมือนโม้ แต่ V4 ให้มิติเสียงที่ดีได้ขนาดนั้น เรื่องนี้ไม่ได้เกิดจากแค่การทดลองใช้งานของผมเท่านั้น แต่ในคอร์สมิกซ์ที่ผมเปิดสอน มีผู้เรียนหลายคนได้ซื้อ KRK V4 มาใช้งาน แล้วก็ได้รับความรู้สึกเรื่องการฟังแบบนี้เหมือนกัน ข้อสรุปเรื่องเสียงคือ KRK V4 เสียงดี ไม่ใช่แค่สูสีกับลำโพงที่ขนาดใหญ่กว่า แต่ V4 ให้เสียงที่ดีกว่าจนยากจะหาลำโพงในระดับราคาใกล้กันมาสู้ได้ ดังนั้น ขนาดไม่ใช่ปัญหาเพราะ V4 เสียงใหญ่และดีเกินตัว และใช้เป็นลำโพงทำงานแบบจริงจังคู่กาย ในระดับอาชีพได้อย่างหาตัวสู้ยาก การจัดวางและปรับแต่งเพื่อใช้งานลำโพงมอนิเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลำโพงมอนิเตอร์สำหรับใช้งานในโฮมสตูดิโอส่วนใหญ่ รวมทั้ง KRK V4 เป็นลำโพงแบบ Near-Field คือลำโพงที่ใช้ฟังได้ในระยะใกล้ โดยวางได้บนโต๊ะทำงาน ระยะระหว่างลำโพงถึงหูผู้ฟังจึงมีระยะใกล้ สภาพแวดล้อมและสภาพห้องจึงมีผลกับตัวเสียงน้อยลง ทำให้การใช้งานลำโพงแบบ Near-Field ไม่ต้องปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการใช้งานมากนัก 03.jpg สิ่งสำคัญอย่างแรกคือเรื่องตำแหน่งการวางลำโพงกับตำแหน่งการฟัง การใช้งานลำโพงมอนิเตอร์ให้จัดวางลำโพงและตำแหน่งการฟังเป็นรูปสามเหลี่ยม โดยให้ดอกลำโพงหลัก อยู่ในระดับความสูงและหันเข้าหาหูผู้ฟังโดยตรง ระยะห่างของลำโพงแต่ละข้างและผู้ฟัง อญุ่ที่ประมาณ 150 เซนติเมตร ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับขนาดโต๊ะทำงาน และระยะที่ผู้ฟังนั่งห่างจากจอคอมด้วย การจัดวางลำโพงให้ได้ตำแหน่งที่ฟังได้ชัดเจนและระยะการฟังไม่ห่างลำโพงมากไปนี้ เป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้พื้นที่แวดล้อม มีผลต่อเสียงลำโพงน้อยลง คุณภาพการได้ยินจากลำโพงก็จะดีขึ้น ข้อต่อมาคือ การปรับความดังของลำโพงแต่ละข้างต้องเท่ากัน ในลำโพงมอนิเตอร์แบบ Active ที่มีแอมป์ขยายเสียงในตัว จะมีปุ่มหมุนวอลลุ่มให้ปรับความดังของลำโพง ซึ่งการปรับนี้ไม่มีข้อกำหนดว่าต้องเปิดความดังไว้สุด ลำโพงบางรุ่นเปิดความดังที่ตัวลำโพงมากไปแล้วอาจเกิดเสียงซ่าหรือเสียงจี่ที่เกิดจากกำลังขับได้ หรือลำโพงบางรุ่นเปิดเสียงเบาไป ลำโพงก็ทำงานไม่เต็มที่ เสียงก็จะไม่ได้คุณภาพ สำหรับผมเองเลือกไม่เปิดวอลลุ่มของลำโพงจนสุด แต่เปิดอยู่ที่ประมาณ 60% -70% ของวอลลุ่มทั้งหมด ข้อต้องสนใจคือ ไม่ว่าคุณจะเปิดวอลลุ่มลำโพงดังแค่ไหน คุณต้องปรับให้ลำโพงทั้งคู่ดังเท่ากัน การวัดง่ายสุดคือหาไฟล์เพลงที่เป็นแบบ Mono มาเปิดฟังแล้วปรับให้วอลลุ่มของลำโพงสองข้างดังเท่ากัน วิธีปรับความดังโดยการฟังนี้ เป็นการใช้ความรู้สึก ซึ่งอาจยังมีความเที่ยงตรงไม่พอ ถ้าทำได้คุณควรหาอุปกรณ์ที่วัดความดังได้มาวัดความดังในการปรับวอลลุ่มลำโพงสองข้างให้ดังเท่ากัน ส่วนลำโพงแบบ KRK V4 จะใช้การปรับวอลลุ่มล็อคค่าแบบสวิตซ์ ทำให้การปรับความดังง่ายขึ้น การปรับความดังของลำโพงสองข้างให้เท่ากันนี้ เป็นเรื่องสำคัญเพราะถ้าลำโพงดังไม่เท่ากัน มิติเสียงในการฟังก็จะเสียไป จึงควรปรับความดังให้ลำโพงสองข้าง เท่ากันมากที่สุด ข้อต่อมาคือปรับ EQ ของลำโพงให้เหมาะกับการฟังหรือสภาพแวดล้อม ลำโพงมอนิเตอร์ส่วนใหญ่จะสามารถปรับ EQ ความทุ้มแหลมของลำโพงได้ แต่ผู้ใช้งานมือใหม่มักไม่กล้าปรับ เพราะคิดว่าลำโพงมอนิเตอร์คือลำโพงที่ให้เสียงเที่ยงตรง การปรับ EQ ก็เหมือนทำให้ลำโพงผิดเพี้ยนไป ซึ่งเป็นแนวคิดที่ไม่ถูกต้อง 04.jpg เราควรวัดการฟังจากลำโพงด้วยเพลงที่เราชอบที่เราเลือกว่าเสียงดี แล้วใช้การได้ยินเป็นตัวตัดสินใจว่าเสียงที่ลำโพงให้เสียงทุ้มไปหรือแหลมไป แล้วปรับอีคิวจากลำโพงให้ได้ระดับความทุ้มแหลมที่เราฟังเสียงจากเพลงที่มิกซ์ดีแล้ว ให้ได้เสียงที่พอดีกับการใช้งานของเรา แม้การวางลำโพงแบบ Near-Field จะช่วยลดผลกระทบจากสภาพแวดล้อมหรือสภาพห้อง แต่ตัวห้องก็ยังมีผลต่อเสียงอยู่ดี เช่นการวางลำโพงชิดมุมหรือผนังมาก เสียงเบสเสียงทุ้มก็จะมากขึ้นหรือเสียงอับขึ้น การมี EQ บนตัวลำโพงก็เพื่อช่วยให้เราปรับลำโพงลดย่านเสียงที่หายหรือเกิน ให้ได้การใช้งานที่ดีที่สุด ดังนั้นอย่ากลัวที่จะปรับแต่งความถี่บนตัวลำโพง ถ้าได้ลำโพงมาใหม่ ลองปรับลองฟังว่าปรับแบบไหน เหมาะกับเรามากที่สุด เรื่องสุดท้ายคือสภาพพื้นที่แวดล้อม โต๊ะหรือวัสดุที่วางลำโพงต้องแข็งแรงพอรองรับน้ำหนักลำโพง และรองรับแรงขับลำโพงได้ โดยเมื่อทำงานต้องไม่มีเสียงสั่นของโต๊ะและสิ่งของรอบๆ และถ้าลำโพงถูกวางเข้ามุมหรือใกล้ผนังมาก การติดแผ่นซับเสียงกันเสียงสะท้อน ก็เป็นตัวช่วยที่ดี การใช้งานลำโพงมอนิเตอร์ได้ดี ต้องอาศัยลำโพงที่ดีร่วมกับความคุ้นเคยในการฟัง ซึ่งความคุ้นเคยในการฟังต้องอาศัยเวลา ดังนั้นเมื่อได้ลำโพงมาใหม่ พยายามหาเพลงมาฟังผ่านลำโพงนั้นให้เยอะ ให้หลากหลาย แล้วจับการได้ยินให้ได้ว่า ความรู้สึกของเสียงดีที่ได้ยินจากลำโพงนั้นๆ เป็นแบบไหน ก็จะช่วยให้ทำงานกับลำโพงนั้นๆ ได้ดีขึ้น ขอให้สนุกกับทำเพลงครับ  
———————————————————— ผู้เขียน ธนภัทร แสงสุตะโกศล(บอม) – โปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำเพลงโฆษณาและศิลปินวง Tea or Me ปัจจุบันเปิดเพจแนะนำการทำเพลงและรับผลิตเพลง ติดตามเฟสบุ๊คเพจได้ที่ https://www.facebook.com/RiddimerStudio/
 

สอบถามเพิ่มเติม

– Tel : 02-1054474 กด 1 – Facbook ProPlugin – Instagram : ProPlugin – Twitter : @ProPlugin  – Youtube : ProPlugin – Line ID : @ProPlugin (อย่าลืมใส่ @ ไว้ข้างหน้า)

ใส่ความเห็น